CPU ย่อมาจาก Central Processing Unit ซึ่งซีพียูหมายถึง ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผลและดำเนินการคำสั่งตามผู้ใช้งาน ช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างราบรื่น ยิ่งได้ซีพียูที่ทำได้ไวจะช่วยส่งผลต่อความเร็วของการทำงานคอมพิวเตอร์ จึงทำให้หลายคนใส่ใจกับการเลือกซื้อซีพียูที่เหมาะกับการทำงานและการเล่นเกม
หน้าที่ของ CPU เปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลและคำสั่งต่าง ๆ ที่ได้รับจากโปรแกรมและระบบปฏิบัติการ เปรียบเสมือนผู้ควบคุมและสั่งการให้ส่วนประกอบอื่น ๆ ของคอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีระบบ หน้าที่หลัก ๆ ของ CPU แบ่งออกได้เป็น 3 อย่างไม่ว่าจะเป็น
CPU ทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากหน่วยความจำ (RAM) ถอดรหัส และประมวลผลตามลำดับขั้นตอน ควบคุมการทำงานของโปรแกรมต่าง ๆ บนระบบปฏิบัติการ
CPU ทำหน้าที่คำนวณ เปรียบเทียบ วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ วิดีโอ เสียง ฯลฯ
CPU ทำหน้าที่รับข้อมูลจากอุปกรณ์ Input ต่าง ๆ เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ สแกนเนอร์ ไมโครโฟน และส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ Output ต่าง ๆ เช่น จอภาพ ลำโพง เครื่องพิมพ์
เมื่อพูดถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชื่อของเมนบอร์ดเป็นที่รู้จักของทุกคนอย่างแน่นอน แต่หลายคนอาจยังไม่แน่ใจว่าเมนบอร์ด คืออะไร มีหน้าที่อะไร ดังนั้นวันนี้เรามารู้จักให้ชัดก่อนเลือกไปใช้กันดีกว่า
โดยเมนบอร์ด คือ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มาพร้อมชิ้นส่วนต่าง ๆ เช่น หน่วยความจำแคช โปรเซสเซอร์ซ็อกเกต จัมเปอร์ พอร์ต หน่วยความจำ ชิปเซต สล็อตการ์ดขยาย ชิปไบออส ชิปซีมอส และอีกหลากหลายชิ้นส่วน บางครั้งก็เรียกกันว่ามาร์เธอร์บอร์ด (Motherboard) ซิสเท็มบอร์ด (System Board) หรือลอจิกบอร์ด (Logic Board) ตามความสะดวกของแต่ละคน
หน้าที่หลักของเมนบอร์ด คือ การสั่งการ ควบคุม จัดการ การทำงานของคอมพิวเตอร์ ให้ทุกส่วนเกิดการเชื่อมโยงกัน นิยามว่าเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อของคอมพิวเตอร์ก็ว่าได้ ดังนั้นถ้าเลือกเมนบอร์ดที่มีคุณภาพมาใช้ ก็จะช่วยให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ของคุณลื่นไหลมากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับขนาดของเมนบอร์ดนั้นมีผลกับการใช้งาน และเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ราคา เมนบอร์ดแตกต่างกัน ซึ่งในตอนนี้มีทั้งหมด 4 ขนาดด้วยกันที่คนนิยมใช้มากที่สุด โดยขนาดของเมนบอร์ดมีกี่ประเภท อะไรบ้างมาดูกัน
ชื่อเต็มของเมนบอร์ด CPU ตัวนี้คือ Mini Information Technology eXtended มาพร้อมขนาด 170 x 170 มม. ซึ่งถือว่าเป็นขนาดที่เล็ก กะทัดรัด เหมาะกับการใช้ประกอบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก มีพื้นที่จำกัด หรือคอมพิวเตอร์แบบพกพา แน่นอนว่ามาพร้อมราคาประหยัด อัปเกรดสเปคให้สูงขึ้นได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเลือกเป็นเมนบอร์ด AMD หรือยี่ห้ออื่น ๆ ก็สามารถใช้ขนาดนี้เล่นเกมได้ลื่นไหลแน่นอน
ตัวนี้คือ Micro Advanced Technology eXtended มาพร้อมขนาด 244 x 244 มม. เหมาะกับคอมพิวเตอร์ที่เลือกใช้เมนบอร์ด พร้อม CPU และการ์ดจอเพียงตัวเดียว ซึ่งจะเป็นคอมพิวเตอร์ประกอบที่ขนาดไม่ใหญ่มาก อัปเกรดอุปกรณ์อื่นเพิ่มได้ มีราคาหลากหลาย ทำให้จัดสเปคได้เร็วแรงตามที่ต้องการ
Advanced Technology eXtended มาพร้อมขนาด 305 x 244 มม. ถือว่าเป็นตัวที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ดังนั้นไม่ว่าจะเป็น Mainboard AM4 หรือตัวเลือกอื่นก็มักจะมีขนาดนี้ให้คุณได้เลือก เป็นต้นแบบของการออกแบบบอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอีกหลายตัว ถ่ายเทความร้อนได้ดี รองรับ RAM ตัวใหญ่ได้ อัปเกรดอุปกรณ์ได้ แต่อาจต้องการพื้นที่ในการวางเคสอยู่พอสมควร เป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์คนมีงบ
Extended ATX ที่มาพร้อมขนาดใหญ่ที่สุดคือ 305 x 330 มม. ข้อดีของตัวนี้คือใส่ RAM ได้มากขึ้น ระบายความร้อนได้ดีขึ้น อัปเกรดอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แบบจัดเต็ม สิ่งเดียวที่ด้อยกว่าตัวอื่นคือ ใช้พื้นที่เคสมากขึ้น ราคาสูงกว่าตัวอื่น แต่ถ้าใครต้องการสเปคสูงบอกเลยว่าไม่ทำให้ผิดหวังอย่างแน่นอน
การ์ดจอ (Graphic Card) หรือที่เรียกอีกอย่างว่าหน่วยประมวลผลกราฟิก (Graphics Processing Unit: GPU) หรือ Display Card การ์ดจอ คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปแสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์ โดยหลักการทำงานเบื้องต้นเริ่มจากการรับข้อมูลและคำสั่งที่ได้จากซีพียูมาประมวลผลให้เรียบร้อย หลังจากนั้นการ์ดจอจะนำข้อมูลที่ประมวลผลได้ ส่งไปยังจอคอมพิวเตอร์เพื่อแสดงภาพออกมา
โดยการ์ดจอมีความสำคัญต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้งานที่ต้องใช้กราฟิกระดับสูง เช่น การเล่นเกม การตัดต่อวิดีโอ การออกแบบกราฟิก เป็นต้น หากไม่มีการ์ดจอ คอมพิวเตอร์ก็จะไม่สามารถแสดงผลภาพได้ หรือหากมีการ์ดจอแต่มีความแรงไม่เพียงพอ การใช้งานคอมพิวเตอร์ก็จะมีประสิทธิภาพต่ำลง เช่น เล่นเกมแล้วภาพกระตุก ตัดต่อวิดีโอแล้วช้า เป็นต้น
การ์ดจอ หรือ Graphics Card หรือ GPU (Graphics Processing Unit) หรือ VGA Card คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลกราฟิกของเครื่องคอมพิวเตอร์ ช่วยให้สามารถแสดงผลภาพต่างๆ บนหน้าจอได้อย่างสวยงามและสมจริง การ์ดจอมีด้วยกัน 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
การ์ดจอออนบอร์ด เป็นการ์ดจอที่ติดตั้งรวมกับซีพียู (CPU) บนเมนบอร์ด ทำให้ไม่จำเป็นต้องซื้อแยก การ์ดจอออนบอร์ดมีราคาไม่แพง แต่ประสิทธิภาพในการประมวลผลกราฟิกจะต่ำกว่าการ์ดจอแยก
เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเทอร์เน็ต ทำงานเอกสาร ฯลฯ แต่ไม่เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการประสิทธิภาพกราฟิกสูง เช่น เล่นเกม ทำงานกราฟิก ตัดต่อวิดีโอ ฯลฯ
เป็นการ์ดจอที่ซื้อแยกจากเมนบอร์ด มีประสิทธิภาพในการประมวลผลกราฟิกสูงกว่าการ์ดจอออนบอร์ดมาก
เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการประสิทธิภาพกราฟิกสูง เช่น เล่นเกม ทำงานกราฟิก ตัดต่อวิดีโอ ฯลฯ การ์ดจอแยกมีราคาสูงกว่าการ์ดจอออนบอร์ด และกินไฟมากกว่าการ์ดจอออนบอร์ด
นอกจากนี้ การ์ดจอแยกยังสามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อย ๆ ตามประสิทธิภาพการใช้งานได้อีกด้วย เช่น
การ์ดจอระดับเริ่มต้น (Entry-level) เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ใช้งานอินเทอร์เน็ต ทำงานเอกสาร หรือเล่นเกมทั่วไป
การ์ดจอระดับกลาง (Mid-range) เหมาะสำหรับการใช้งานระดับกลาง เช่น เล่นเกมระดับกลาง ทำงานกราฟิกระดับพื้นฐาน หรือตัดต่อวิดีโอความละเอียดระดับ Full HD
การ์ดจอระดับสูง (High-end) เหมาะสำหรับการใช้งานระดับสูง เช่น เล่นเกมระดับสูง ทำงานกราฟิกระดับมืออาชีพ หรือตัดต่อวิดีโอความละเอียดระดับ 4K
การ์ดจอค่ายเขียวและค่ายแดงคือสองแบรนด์การ์ดจอที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ทั้งสองแบรนด์ต่างก็มีจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้
การ์ดจอ Nvidia เป็นผู้นำตลาดการ์ดจอมานานหลายปี โดยมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายตั้งแต่รุ่นสำหรับเล่นเกมระดับไฮเอนด์ไปจนถึงรุ่นสำหรับผู้บริโภคทั่วไป การ์ดจอ NVIDIA เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรม เช่น Ray Tracing และ DLSS ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ได้ประสบการณ์การเล่นเกมที่สมจริงยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย เช่น การเล่นเกม การตัดต่อวิดีโอ การสร้างภาพสามมิติ
การ์ดจอ AMD เรามักจะรู้จักกันในชื่อ Radeon เป็นที่รู้จักในด้านประสิทธิภาพที่คุ้มค่า มักจะเสนอราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่งอย่าง Nvidia โดยไม่สูญเสียประสิทธิภาพมากนัก การ์ดจอ AMD ยังมีแนวโน้มที่จะใช้พลังงานน้อยกว่าการ์ดจอ NVIDIA ซึ่งสามารถมีความสำคัญต่อระบบที่มีข้อจำกัดด้านพลังงาน เหมาะสำหรับผู้ที่มองหาการ์ดจอที่มีประสิทธิภาพสูงและคุ้มค่า เหมาะสำหรับการเล่นเกม การตัดต่อวิดีโอ และงานสร้างสรรค์อื่น ๆ
ทั้งนี้ การ์ดจอค่ายเขียวและค่ายแดงต่างก็มีข้อดีและข้อเสียของตัวเอง การเลือกการ์ดจอที่ดีที่สุดสำหรับคุณขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณ ท้ายที่สุดแล้ว ทางที่ดีที่สุดคือเปรียบเทียบการ์ดจอแต่ละรุ่นก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ
สายจอคอม VGA เป็นสายรุ่นเก่าที่ไม่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เนื่องจากเทคโนโลยีจอภาพและอุปกรณ์ต่อพ่วงมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จอภาพรุ่นใหม่ ๆ มักรองรับสัญญาณดิจิตอล ทำให้จำเป็นต้องใช้สายจอคอมประเภทอื่น ๆ แทน หากคอมพิวเตอร์หรือจอภาพของคุณรองรับสัญญาณดิจิตอลแล้ว คุณสามารถเลือกใช้สายจอคอมประเภทอื่น ๆ เช่น HDMI, DisplayPort หรือ DVI ซึ่งจะให้ภาพที่มีความละเอียดและคุณภาพดีกว่าสายจอคอม VGA
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์อย่าง RAM นั้นเชื่อว่าเป็นชื่อที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่ถ้าคุณยังไม่แน่ใจว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้มีเอาไว้เพื่อซัพพอร์ตการใช้งานแบบไหน เรามารู้จักให้มากขึ้นกันก่อน โดย RAM ย่อมาจาก Random-Access Memory ซึ่ง RAM คืออะไร คำตอบคือ เป็นหน่วยความจำหลัก ทำให้ RAM หน้าที่นั้นคือ การเข้ามาช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมให้เร็วมากขึ้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต โน๊คบุ๊คหรือคอมพิวเตอร์ก็จะต้องมีอุปกรณ์ชิ้นนี้เพื่ออ่าน และเขียนคำสั่ง ส่งไปยังหน่วยความจำไม่ต่างกัน
แรม คืออะไร นิยามได้ว่าเป็นการทำงานแบบหน่วยความจำชั่วคราว หรือ Short-Term Memory การทำงานของแรม คือ เขียนหรือบันทึกข้อมูลแบบสุ่มไปยังตำแหน่งต่าง ๆ อย่างอิสระ ทำงานต่างจากหน่วยความจำแบบอื่นตรงที่เมื่อมีการตัดกระแสไฟฟ้า ข้อมูลใน RAM โน๊ตบุ๊ค และอุปกรณ์อื่น ๆ ก็จะหายไปอย่างสมบูรณ์ด้วย อุปกรณ์นี้จะประมวลผลเฉพาะในช่วงเวลาที่กำหนดเท่านั้น
เรามาดูเส้นทางการทำงานของ RAM กันดีกว่าว่าทำงานอย่างไร RAM น้อยมีผลอย่างไร และถ้ามีเยอะ ๆ จะดีกว่าได้แบบไหน เพื่อให้คุณเข้าใจและเลือกใช้ RAM คอมพิวเตอร์ให้เหมาะกับคุณได้มากที่สุด
RAM ราคาต่าง ๆ จะเข้ามาทำหน้าที่ในการเก็บชุดคำสั่ง ข้อมูล ในตอนที่ระบบของคอมพิวเตอร์กำลังทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการ Input เพื่อเป็นพื้นที่ในการรับข้อมูลมาจากอุปกรณ์รอส่งต่อให้ซีพียู การ Working เพื่อเก็บข้อมูลที่รับมารอการประมวลผล การ Output เพื่อจัดเก็บข้อมูลที่ซีพียูประมวลผลแล้วรอส่งไปยังหน่วยที่รับคำสั่งมา และการ Program เพื่อเก็บชุดคำสั่งไว้ รอให้ซีพียูเรียกไปใช้งานกันต่อไป
การเข้าถึงข้อมูลของอุปกรณ์ชิ้นนี้นั้นจะเข้าถึงแบบสุ่ม หรือเรียกกันว่า Random Access นั่นหมายความว่าซีพียูจะสามารถเข้าถึงทุกส่วนของหน่วยความจำ หรือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้โดยตรง เพื่อที่จะเข้าไปช่วยเพิ่มความเร็วทั้งเรื่องการอ่านและเขียนข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
เมื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำหลัก ทำให้มีความสามารถที่จะเข้าถึงหน่วยความจำต่าง ๆ ได้ทันที ไม่ต้องผ่านฮาร์ดไดรฟ์ หรือพวก Direct Access Memory ให้เสียเวลา ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ของคุณนั้นสามารถสลับทำงานไปมาได้อย่างราบรื่น การใช้งานเร็วขึ้น ดังนั้นการเปิดหลายโปรแกรมพร้อมกันก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้นสำหรับคุณ
ในปัจจุบันก็แรม 8GB ถือว่าเพียงพอและตอบโจทย์สำหรับการใช้งานพื้นฐานทั่วไปแล้ว แต่ถ้าคุณต้องการความเร็วแรงที่ลื่นไหล RAM 16GB ขึ้นไปก็จะตอบสนองการทำงานของคุณให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ ยิ่งถ้าเป็นงานกราฟิก ตัดต่อ เล่นเกมที่ความละเอียดสูง ๆ แรม 32GB ราคาอาจจะแพง แต่ก็คุ้มค่ากับการใช้งานแน่นอน
RAM นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ด้วยกัน คือ Static RAM (SRAM) และ Dynamic RAM (DRAM) โดยแต่ละตัวเหมาะกับการเลือกไปใช้งานแบบไหนมากที่สุด เรามาเก็บข้อมูลไปพร้อมกัน และนำไปใช้ต่อกันได้เลย
เอสแรมเป็นหน่วยความจำที่พัฒนามาจากทรานซิสเตอร์ สามารถใช้ในการรักษาข้อมูลไว้ในหน่วยความจำตลอดเวลาที่มีไฟฟ้าเลี้ยงอยู่ ทำงานในแบบที่ไม่ต้องมีการเขียนข้อมูลลงไปซ้ำหลายครั้ง มาพร้อมความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล แต่ถือว่าราคาสูง และจุข้อมูลได้ไม่เยอะ
ดีแรมเป็นหน่วยความจำที่ราคาถูกกว่า ต้องมีไฟเลี้ยงเพื่อทำงานอยู่ตลอด และยังต้อง Refresh เป็นระยะเพื่อเตือนความจำ โดยใช้หลักการ MOS นั่นเอง ถ้าไม่มีการ Refresh บ่อย ๆ ประจุจะค่อย ๆ รั่วออก ดังนั้นเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงต้อง Refresh นั่นเอง